![]() |
![]() |
![]() |
|||||
ในแวดวงคน HR มักจะพูดกันบ่อยเกี่ยวกับคนในองค์การซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม หรือ 3 Generation คือ Baby Boomer, Generation X และ Generation Y ทั้งนี้ เนื่องจากคน 3 กลุ่ม หรือ 3 วัยที่ต่างกันนี้มีความคิด ความเชื่อ ความรู้ ความสามารถ ทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมที่ต่างกัน การทำงานหรือการบริหารจัดการกับคน 3 วัยก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะแต่ละวัยมีรูปแบบการทำงานและ Life Style ที่แตกต่างกัน ผมหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดคุยและแบ่งปันก็สืบเนื่องมาจากผมกำลังทำการศึกษาวิเคราะห์เรื่องอัตรากำลังหรือคนของนิด้าว่าสถานภาพในปัจจุบันเป็นอย่างไร อนาคตจะไปในทิศทางใด จะมีค่าใช้จ่ายด้านบุคคลมากน้อยเพียงใด จะเพียงพอหรือไม่ ซึ่งต้องวางแผนเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่สำคัญคือถ้ารู้ว่าคนของเราเป็นอย่างไร ผู้บริหารทุกระดับจะได้เข้าใจและหาวิธีการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับคนแต่ละกลุ่ม ให้ความสำคัญกับทุกกลุ่ม ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เท่านั้น มาทำความเข้าใจคนในแต่ละกลุ่มคร่าว ๆ ก่อนนะครับ คนกลุ่ม Baby Boomer เขาบอกว่ามีอายุ 46 ปีขึ้นไป คนกลุ่มนี้เป็นคนที่มีชีวิตเพื่อการทำงาน เคารพกฎเกณฑ์ กติกา อดทน ให้ความสำคัญกับผลงานแม้ว่าจะต้องใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จ อีกทั้งยังมีความคิดที่จะทำงานหนักเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว มีความทุ่มเทกับการทำงานและองค์กรมาก ได้รับการสั่งสอนจากผู้ปกครองให้ประหยัดและอดออม คนกลุ่มนี้เมื่อเติบโตมาเป็นหัวหน้างาน ผู้บริหาร ก็จะมีอุปนิสัยสู้งาน ใช้จ่ายรอบคอบ ระมัดระวัง คนกลุ่ม Gen X อายุประมาณ 31 – 45 ปี ชอบทำอะไรง่าย ๆ ไม่ต้องเป็นทางการ ให้ความสำคัญเรื่องความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่บ้างาน ทำงานไม่ทุ่มเท ทำงานในหน้าที่ตัวเอง ตกเย็นก็รีบกลับบ้าน มีแนวคิดและการทำงานเพียงลำพัง ไม่พึ่งพาใคร มีความคิดเปิดกว้าง พร้อมรับฟังข้อติติง เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง ไม่กล้าคิดกล้าแสดงออก เรียกกลุ่มนี้อีกอย่างว่า Baby Bust (ตรงข้ามกับ Boom) หรือ พวกยัปปี้ – Yuppie (Young Urban Professionals) สำหรับคนกลุ่ม Gen Y อายุประมาณ 20-30 ปี เป็นกลุ่มคนที่โตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตและเทคโนโยลี ไอที มีคุณลักษณะที่แตกต่างกับคน 2 กุล่มข้างต้นเป็นอย่างมาก เช่น เก่งกล้าสามารถทั้งด้านความคิดและการแสดงออก ทะเยอทะยาน เรียกร้องสูง รักษาสิทธิ์อย่างเต็มที่ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความรู้ด้านเทคโนโลยี ชอบความท้าทายในงาน มองหาโอกาสเติบโตในงาน ทำงานเป็นทีม กล้าซักกล้าถาม ไม่เชื่อสิ่งใดง่าย ๆ หากไม่มีเหตุผลดีพอ ไม่มีความอดทนที่จะทำงานในที่เดิมนาน ๆ หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง ติดเพื่อน ชอบทำหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน มองโลกในแง่ดี ก้าวเข้าสู่โลกแห่งการทำงานด้วยข้อมูลความรู้ที่อัดแน่นอยู่ในหัว มีความคาดหวังที่สูงยิ่ง โดยเฉพาะสิ่งที่เขาคาดหวังสูงสุดคือ ตัวของพวกเขาเอง ปรารถนาที่จะช่วยให้มีทีมที่จะคอยช่วยเหลือเกื้อหนุนพวกเขาในการทำงาน กล้าแสดงออก เช่น การแต่งตัวตามแฟชั่น การสร้างสมดุลในชีวิตและหน้าที่การงาน (Work Life Balance) ถือเป็นเรื่องสำคัญและยิ่งใหญ่ของชีวิต มาดูคน 3 วัยในนิด้า ว่ามีลักษณะอย่างไร ข้อมูลเบื้องต้น ณ วันที่ 1 ต.ค.52 ที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์อัตรากำลังของนิด้าเกี่ยวกับช่วงอายุบุคลากรของนิด้า มีดังนี้ครับ หากแบ่งคนของนิด้าออกเป็น 3 Generation ข้างต้น จะมีดังนี้ครับ บุคลากรของนิด้ามีทั้งสิ้น 611 คน เป็นข้าราชการ 300 คน (สายอาจารย์ 100 คน สายสนับสนุน 200 คน) พนักงานสถาบัน 171 คน (สายอาจารย์ 46 คน สายสนับสนุน 125 คน) ลูกจ้างประจำ 86 คน ลูกจ้างชั่วคราวเงินรายได้ 48 คน และลูกจ้างชั่วคราวเงินงบประมาณ 6 คน โดยภาพรวม บุคลากรของนิด้า 611 คน มีอายุตั้งแต่ 46 ปีขึ้นไป 270 คน หรือร้อยละ 44.2 อายุระหว่าง 31 – 45 ปี 285 คน หรือร้อยละ 46.6 และอายุน้อยกว่า 31 ปี 56 คน หรือร้อยละ 9.2 แสดงให้เห็นว่าบุคลากรของนิด้าอยู่ในกลุ่ม Baby Boomer และ Gen X ในปริมาณเท่า ๆ กัน ส่วนคนกลุ่ม Gen Y ยังมีเป็นส่วนน้อย เมื่อพิจารณาในแต่ละกลุ่ม คือ กลุ่มอาจารย์ ซึ่งเป็นข้าราชการและพนักงานสถาบัน จำนวน 146 คนพบว่ามีช่วงอายุตั้งแต่ 46 ปีขึ้นไป 81 คน (ข้าราชการ 74 คน พนักงานสถาบัน 7 คน) หรือร้อยละ 55.5 อายุระหว่าง 31 – 45 ปี 64 คน (ข้าราชการ 26 คน พนักงานสถาบัน 38 คน) หรือร้อยละ 43.8 และอายุน้อยกว่า 31 ปี 1 คน หรือร้อยละ 0.7 แสดงให้เห็นว่า อาจารย์ของนิด้าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Baby Boomer และส่วนมากเป็นข้าราชการ รองลงไปคือกลุ่ม Gen X จากคนในกลุ่มวัยต่างกันของนิด้ามีประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในด้านการบริหารงานบุคคลก็คือ คงทราบแล้วนะครับว่า ท่านเป็นคนในกลุ่มใดของนิด้า แล้วท่านมีความคิด ความเชื่อและพฤติกรรมอย่างที่กล่าวไว้หรือไม่ โลกทุกวันนี้เปลี่ยนเร็วมาก ผมเองก็ต้องเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเองทั้งในเรื่องความคิด ความเชื่อความรู้ ความสามารถ ทัศนคติ และพฤติกรรม ให้เข้ากับสังคมใหม่ ๆ ผมเคยอยู่ที่คณะพัฒนาการเศรษฐกิจมา 30 ปี ก็คุ้นเคยกับวัฒนธรรม ประเพณี และวิธีการทำงานที่ถ่ายทอดกันมาซึ่งมีลักษณะเหมือนพี่น้อง เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน เมื่อมาอยู่ที่สำนักงานอธิการบดี รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองงานผู้บริหาร (7 เดือน) ผู้คน พฤติกรรม และวิธีการทำงานก็เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะมารักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองบริหารทรัพยากรบุคคล (ไม่รู้ว่าจะอีกนานแค่ไหน) เราเองเป็นคนกลุ่ม Baby Boomer ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับน้อง ๆ ซึ่งเป็น Gen X และ Y ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารจัดการและพฤติกรรมต่างจากที่เคยเป็น แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงยึดมั่นในหลักของเหตุและผล หลักนิติธรรม ความถูกต้อง ความเป็นธรรม และผลสัมฤทธิ์ของงานและที่สำคัญยิ่งกว่าสิ่งใดคือ ยึดมั่นในหลักของคุณธรรมและจริยธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นที่ตั้ง เพราะหากขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว คนทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็น Baby Boomer, Gen X หรือ Gen Y ย่อมไม่ใช่คนดีของสังคมเป็นแน่แท้ ข้อคิดก่อนจาก : จงเปลี่ยนแปลงตัวเอง ก่อนที่คนอื่นจะมาเปลี่ยนแปลงตัวเรา
|
|||||||
![]() |
![]() |
![]() |
Comments | 9 | Hits: 6957 |