ความเป็นมาและแผน

        ปัจจุบันการพัฒนาศักยภาพ ความสามารถในการดำเนินงานขององค์การเป็นสิ่งที่บุคลากรทุกระดับควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะความรู้ ทักษะ แนวปฏิบัติต่างๆ ขององค์การที่อยู่ในตัวบุคลากร (Tacit Knowledge) ซึ่งบุคลากรเหล่านั้นได้สั่งสมความรู้ ประสบการณ์มานาน ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ เช่น การพัฒนาตนเอง  การฝึกอบรม  การศึกษาดูงาน  การลองผิดลองถูก  การประยุกต์ใช้จากแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)  การแนะนำสอนงาน (Coaching) จากผู้บังคับบัญชา หรือเพื่อนร่วมงาน  ซึ่งความรู้ดังกล่าวเปรียบดังสินทรัพย์อันมีค่าขององค์การ  องค์การควรต้องมีการบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management ) ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงาน การเรียนรู้ของบุคลากรและองค์การ โดยการแสวงหา จัดเก็บ ถ่ายทอด เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรสามารถปรับใช้อย่างเหมาะสมกับบริบทต่างๆ ขององค์การให้มีประสิทธิผล  และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน รวมถึงการเรียนรู้ของบุคลากรระดับต่างๆ  ขององค์การ

     สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้ริเริ่มนำแนวคิดด้านการจัดการความรู้มาปรับใช้ในการบริหารความรู้ที่อยู่ในตัวบุคลากร (Tacit Knowledge) และความรู้ที่อยู่ในเอกสารต่างๆ (Explicit Knowledge) เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ปี 2547 และได้เริ่มจัดทำเป็นแผนโครงการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ด้าน คือ

1) ด้านการพัฒนาองค์การ 2) ด้านการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เกิดนวัตกรรม  3) ด้านการพัฒนาคนให้เกิดการเรียนรู้ มีความคล่องตัวในการทำงาน รวมถึงเกิดความพึงพอในการทำงาน

 

 

แผนภาพที่ 1โครงสร้างการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์การ ปีงบประมาณ พ.ศ.2548-2550

การดำเนินกิจกรรมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 มีการแบ่งโครงสร้างตามกลุ่มวิชาชีพ 9 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มงานการศึกษา กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มงานบุคคล กลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มอาจารย์ กลุ่มงานการเงิน บัญชีและพัสดุ กลุ่มงานแผนและงบประมาณ กลุ่มงานบริหารและธุรการ และกลุ่มผู้บริหารระดับกลาง

ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ได้ปรับโครงการการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ที่เน้นกระจายการมีส่วนร่วมของบุคลากรโดยแบ่งโครงสร้างตามหน่วยงาน จำนวน 17 กลุ่ม เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการจัดการความรู้ในหน่วยงานของตน ตามทำแผนการจัดการความรู้ ระดับหน่วยงาน โดยมีคณะทำงานการจัดการความรู้ ระดับสถาบัน (NIDA KM Team) เป็นคณะทำงานคอยประสานยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ระดับสถาบันสู่การดำเนินการจัดการความรู้ ระดับหน่วยงาน ตามแผนภาพที่ 2

 

แผนภาพที่ 2 โครงสร้างการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์การ ปีงบประมาณ พ.ศ.2551-2554

         ในปลายปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ได้มีการปรับโครงการการดำเนินงานอีกครั้งโดยนำโครงสร้างตามหน่วยงานที่เคยใช้ในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.2551-2554 และโครงสร้างตามวิชาชีพที่เคยใช้ในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.2548-2550 บูรณาการร่วมกันเป็น 2 ชั้น เป็นการร่วมข้อดีของโครงสร้างตามวิชาชีพ และโครงสร้างตามหน่วยงานไว้ด้วยกัน ซึ่งโครงสร้างตามวิชาชีพสถาบันได้ริเริ่มกิจกรรมการปรับปรุง พัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA Performance Improvement) ซึ่งในกลุ่มวิชาชีพเป็นการสนับสนุนให้บุคลากรได้มีโอกาสทำงานข้ามหน่วยงานกันในการปรับปรุง พัฒนาระบบงานต่างๆ 8 กลุ่มระบบงาน ได้แก่  กลุ่มการศึกษา  กลุ่มนโยบายและแผน  กลุ่มการเงินและพัสดุ  กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล  กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ  กลุ่มกำกับติดตามตรวจสอบ  กลุ่มสื่อสารองค์การและกิจกรรมเพื่อสังคม และกลุ่มบริหารงานทั่วไป

 

แผนภาพที่ 3 โครงสร้างการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์การ ปีงบประมาณ พ.ศ.2555-2556

 

     การดำเนินการบริหารความรู้ภายในองค์การของสถาบัน มีกระบวนการหลักในการดำเนินงาน 5 ส่วน คือ 1) การระบุ 2) การแสวงหา 3) การปฏิบัติ 4) การจัดเก็บ และ5) การแผยแพร่

 

จากการดำเนินงานระหว่างปี 2561 ถึง 2564 สถาบันได้กำหนดแนวการดำเนินการบริหารความรู้ภายในองค์การหลัก ดังนี้