การเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง หลายครั้งเราจะนึกถึงการเปลี่ยนแปลงในสิ่งใหญ่ ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ และทำเป็นประจำที่ดูเหมือนจะไม่สำคัญในช่วงแรกนั้น สามารถเป็นแนวทางเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ใหญ่มากขึ้น โดยสามารถเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงนิสัยในประเด็นเล็ก ๆ ได้ ดังนี้
1. ตอบโต้ให้ช้าลง (Delay your reaction) : อย่ามีเพิ่งมีปฏิกิริยาตอบสนองกับทุก ๆ เรื่องที่เข้ามาเร็วเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโอกาสที่เข้ามา การตอบอีเมล์ การตอบโต้เมื่อรู้สึกโมโห หรือการแสดงออกต่อประเด็นต่าง ๆ ให้คิดก่อนตอบโต้เสมอ ไม่ตอบโต้ด้วยความใจร้อน หรือตอบแบบทันทีโดยไม่ให้เวลากับตัวเองได้ทำความเข้าใจประเด็นต่าง ๆ อย่างแท้จริง
2. ลงมือทำให้เสร็จแม้ไม่อยากทำ (Push yourself to complete a task when you don’t feel like it) : ผลักดันตัวเองให้ลงมือทำงานสักอย่างให้เสร็จแม้ว่าในขณะนั้นจะไม่อยากทำ ซึ่งสามารถเริ่มได้จากการทำงานชิ้นเล็ก ๆ และงานง่าย ๆ ก่อนวันละ 1 งาน เช่น การล้างจานทันทีหลังจากที่กินข้าวเสร็จ หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ ขยายความยากของงานขึ้น
3. งด Social Media สักวัน (Spend a day away from Social Media) : แม้จะดูเป็นเรื่องที่ยากสำหรับการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันที่ความสะดวกสบายต่าง ๆ ล้วนสามารถเข้าถึงจากผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่อย่างไรก็ตามเราก็สามารถเริ่มต้นได้ทีละเล็กทีละน้อยเพียงเดือนละ 1 วัน โดยการใช้โทรศัพท์มือถือเฉพาะที่จำเป็นและใช้ให้น้อยที่สุด งดเว้นการรับเรื่องรกสมองต่าง ๆ ผ่านโซเชียลมีเดียในทุกช่องทาง ใช้เวลากับตัวเองและสิ่งต่างๆรอบตัวให้มากขึ้น
4. เตรียมของพรุ่งนี้ตั้งแต่คืนนี้ (Prepare your next day the night before) : จัดเตรียมตารางการใช้ชีวิต เสื้อผ้า งาน หรือของใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับพรุ่งนี้ให้เสร็จตั้งแต่ก่อนนอนคืนนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้เสร็จก่อนถึงเวลาและจะทำให้เรามีเวลาเหลือในวันรุ่งขึ้น
5. กินอย่างมีสติ (Eat mindfully) : ด้วยการใช้ชีวิตที่รีบเร่ง บวกกับความชื่อชอบในการใช้มือถือเพื่อเข้าถึงโซเชียลมีเดียต่าง ๆ หลายคนคงจะเคยชินกับการกินข้าว ทำงาน ประชุม หรือเล่นโซเชียลมีเดียไปพร้อม ๆ กัน เพราะฉะนั้นจากนี้จะต้องปรับเปลี่ยนนิสัย โดยให้ความสนใจจดจ่ออยู่กับรสชาติ และอาหารตรงหน้า เคี้ยวอาหารช้า ๆ ขณะกินไม่ทำกิจกรรมอื่น ๆ ไปด้วย เช่นการเล่นมือถือ หรือทำงานไปกินไป ซึ่งจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นและสามารถควบคุมปริมาณการกินให้พอเหมาะ
6. แบ่งเวลาทำงาน และเวลาพัก (Use a timer for your task) : ตั้งเป้าหมายที่จัดเจนและเป็นระบบเพื่อกำหนดเวลาทำงาน และเวลาพักให้มีความชัดเจน เช่นแบ่งเวลาตามหลัก Pomodoro ทำงานแบบจดจ่อ 25 นาที และพัก 5 ที หรือสามารถกำหนดเองได้ เช่น ทำงาน 45 นาที พัก 15 นาทีก็ได้ โดยในช่วงแรกสามารถใช้นาฬิกาจับเวลาร่วมด้วยเพื่อคอยแจ้งเตือน
7. เอามือถือไว้ไกลตัว (Place your phone on the opposite side of the room) : หลาย ๆ คนคงเคยชินกับการเอามือถือไว้ข้างตัวตลอดเวลาเพื่อให้ง่ายต่อการหยิบมาเล่น หรือบางคนอาจจะเคยหลับไปในขณะที่มือถือยังเปิดค้างอยู่ในมือก็เป็นไปได้ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงนิสัยนี้ในเบื้องต้นจึงสามาทำได้ง่าย ๆ โดยการเก็บมือถือไว้ให้ไกลจากตัวขณะทำงานเพื่อให้สามารถจดจ่ออยู่กับงานได้มากขึ้น หรือก่อนนอนสัก 30 นาทีนำมือถือออกไปเก็บหรือช๊าตแบตเตอรี่ไว้นอกห้องนอนก็สามารถใช้เป็นแนวทางเริ่มต้นได้เช่นกัน
8. มีสติก่อนซื้อ (Set a spending waiting period) : คุณอาจจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “กิเลศ ดับได้ ด้วยการซื้อ” แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถตั้งสติได้ก่อนที่จะซื้ออะไรที่ไม่จำเป็นออกไป เพราะฉะนั้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้ออะไรเราต้องปล่อยให้ตัวเองได้มีเวลาคิดถึงความจำเป็นของสิ่งนั้นก่อน อย่าปล่อยให้ป้ายลดราคามามีอิทธิพลต่อจิตใจมากกว่าความจำเป็น ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้จากการจดรายการสิ่งของที่ต้องการซื้อไว้ แล้วจึงนำมาพิจารณาทีหลังว่าอะไรมีความจำเป็นจริงๆที่จะต้องใช้ก็ให้ซื้อก่อน หรือในกรณีของสินค้าลดราคมให้พิจารณาจากราคาเต็มของสินค้าดังกล่าวว่าถ้าไม่ลดราคาเราจะซื้อหรือไม่ และสินค้าชิ้นนั้นมีความเร่งด่วนในการซื้อแค่ไหน
9. จดทุกไอเดียที่เกิดขึ้น (Write down every idea) : จดทุกความคิดใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวัน ไม่ว่าจะเป็นการจดด้วยปากกาลงบนกระดาษ หรือจะเป็นการจดบันทึกผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ใกล้ตัวในขณะนั้นที่เรียกดูได้ง่าย เพราะเราไม่รู้แน่ชัดว่าไอเดียใหม่ ๆ จะเกิดขึ้นตอนไหนบ้าง และเมื่อเวลาผ่านไปไอเดียต่าง ๆ ที่เราจดไว้อาจจะเป็นประโยชน์ในอนาคตก็ได้